จักระและการรู้จักธรรมชาติของตัวเอง

การรู้จักและเข้าใจตนเอง มีข้อดีคือ การรู้ว่าตนเป็นอย่างไรมีจุดเด่นจุดด้อยอะไร และเมื่อกาย หรือใจ ไม่สบาย ก็สามารถรู้ทันและเยียวยาตนเองได้ นอกจากนั้นเมื่อเรารู้จักและ เข้าใจตนเองแล้วย่อมทำให้เราพร้อมที่จะเรียนรู้และเข้าใจยอมรับผู้อื่นได้เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีในทุกมิติของชีวิต ดังนั้น การทำความรู้จักจักระภายในจึงเป็นหลักการง่าย ๆ ที่ใช้อย่างแพร่หลายในการทำความรู้จักทั้งร่างกาย

จักระ (Chakra) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง “วงล้อ” หรือ “การหมุน” เป็นแนวคิดในปรัชญาตะวันออกที่เชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์ จักระเหล่านี้เชื่อมโยงกับอวัยวะ ระบบประสาท และต่อมไร้ท่อ โดยแต่ละจักระจะสอดคล้องกับอวัยวะบางส่วน อารมณ์ และความสามารถเฉพาะตัว การทำความเข้าใจและปรับสมดุลจักระจึงเป็นการเดินทางสู่การรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้งและการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ

มนุษย์ทุกคน มีจักระอยู่ 7 จุด ซึ่งมีสี และความหมาย ดังต่อไปนี้

  1. จักระราก เรียกว่า มูลาธาระจักระ (Root Chakra): ตั้งอยู่ที่ฐานกระดูกสันหลัง มีสีแดง สื่อถึงความมั่นคง รากฐาน และความเชื่อมโยงกับโลกวัตถุ
  2. จักระเพศ เรียกว่า สวาธิษฐานจักระ (Sacral Chakra): อยู่ที่บริเวณท้องน้อย มีสีส้ม เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางเพศ ความสร้างสรรค์ และอารมณ์
  3. จักระท้อง มณีปุระจักระ (Solar Plexus Chakra): อยู่ที่บริเวณท้อง มีสีเหลือง สื่อถึงพลัง อำนาจ ความมั่นใจ และการควบคุมตนเอง
  4. จักระหัวใจ เรียกว่า อานาฮาตะจักระ (Heart Chakra): อยู่ที่กลางอก มีสีเขียว สื่อถึงความรัก ความเมตตา การให้อภัย และการเชื่อมโยงกับผู้อื่น
  5. จักระคอ เรียกว่า วิศุทธิจักระ (Throat Chakra): อยู่ที่ลำคอ มีสีฟ้า สื่อถึงการสื่อสาร การแสดงออก และความจริงใจ
  6. จักระตาที่สาม เรียกว่า อัชญาจักระ (Third Eye Chakra): อยู่ระหว่างคิ้ว มีสีม่วง สื่อถึงปัญญา สัญชาตญาณ และการรับรู้ภายใน
  7. จักระมงกุฎ เรียกว่า สะหัสราจาระ (Crown Chakra): อยู่ที่ยอดศีรษะ มีสีขาวหรือม่วงอ่อน สื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล การตรัสรู้ และจิตวิญญาณ

เมื่อจักระเกิดความไม่สมดุล อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางร่างกาย อารมณ์ และสภาพจิตใจ เช่น ปวดเมื่อย ป่วยง่าย อารมณ์แปรปรวน กังวล หดหู่ หรือขาดความมั่นใจ การปรับสมดุลจักระจึงเป็นวิธีหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ การปรับสมดุลจักระจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตโดยรวม อันครอบคลุมถึงสุขภาพ ความสัมพันธ์ ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และความสำเร็จในระยะยาว เมื่อจักระทั้ง 7 ขาดสมดุลไป สามารถฟื้นฟูได้ด้ยการปรับสมดุลของจักระหลาย ๆ จุดไปพร้อมกัน โดยมีวิธีเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

วิธีการปรับสมดุลจักระ

  • การฝึกสมาธิ ช่วยให้จิตใจสงบและเชื่อมต่อกับพลังงานภายใน
  • การออกกำลังกาย กระตุ้นการไหลเวียนของพลังงาน
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของจักระโดยตรง
  • การใช้คริสตัล เชื่อว่ามีพลังงานที่สอดคล้องกับจักระบางชนิด สามารถเสริมการทำงานจักระได้
  • การทำโยคะ ช่วยเปิดช่องพลังงาน
  • การฟังเสียงบำบัด เช่น เสียงร้องของนก เสียงคลื่น หรือเสียงดนตรี ช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย

 

การเชื่อมต่อกับธรรมชาติ

จักระเป็นสะพานเชื่อมระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ การปรับสมดุลจักระจึงเป็นการเชื่อมต่อกับธรรมชาติและจักรวาลอันยิ่งใหญ่ การใช้เวลาอยู่ในธรรมชาติ การสัมผัสแสงแดด ลม และน้ำ ช่วยให้เราได้รับพลังงานจากธรรมชาติและส่งเสริมการรักษาสมดุลของจักระ

จักระเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและมีประโยชน์ในการเข้าใจตนเองและพัฒนาตนเอง การศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจักระไม่เพียงแต่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้เราค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายในตัวเรา และเชื่อมต่อกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา

การทำความเข้าใจและปรับสมดุลจักระ นอกจากจะช่วยให้เรารู้จักตัวเองได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นแล้ว ยังนำมาซึ่งประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้

  1. การพัฒนาตนเอง

การเชื่อมโยงอารมณ์กับจักระ ทำให้เราเข้าใจที่มาของความรู้สึกต่างๆ ได้ดีขึ้น และสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมเมื่อจักระที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจสมดุล เราจะรู้สึกมั่นคงในตัวเอง และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

  1. การรักษาสุขภาพ

การทำสมาธิเพื่อปรับสมดุลจักระ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล เมื่อจักระสมดุล ร่างกายและจิตใจจะผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น พลังงานที่ไหลเวียนอย่างสมดุล ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ตลอดจนอาจช่วยบรรเทาอาการป่วยบางอย่าง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หรืออาการปวดเรื้อรังบางอย่างได้

  1. การพัฒนาจิตวิญญาณ

การทำสมาธิเพื่อเข้าถึงจักระ ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับจิตใต้สำนึกและค้นพบความจริงภายใน จักระที่เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณ เมื่อสมดุล จะช่วยให้เรามีสัญชาตญาณที่แม่นยำมากขึ้น การเชื่อมต่อกับจักระมงกุฎ ทำให้เราตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

แม้ว่าแนวคิดเรื่องจักระจะมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและปรัชญาตะวันออกมาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันการมีอยู่ของจักระอย่างชัดเจน อีกทั้งการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจักระ ควรเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง ไม่ใช่การหาคำตอบหรือความเชื่อที่ตายตัว หากแต่การรับด้านที่ดีของหลักการนี้มาพัฒนาตนเอง โดยที่ไม่ทำร้ายใคร ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในทางสุขภาพและจิตใจเป็นอย่างยิ่ง

Human design ศาสตร์ที่มาแรงด้านการรู้จักตนเอง

มนุษย์ทุกคนขับเคลื่อนชีวิตด้วยความกลัว และความกลัวทำให้เราต่างก็ต้องกระเสือกกระสนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเอาชีวิตรอด! แต่ในแก่นของการพัฒนาจิตวิญญาณ ต่างก็กล่าวว่า “มนุษย์ควรอยู่เหนือจุดที่ใช้ความกลัวมาขับเคลื่อนชีวิต จึงจะเกิดการพัฒนาที่ก้าวกระโดด และได้รับความโชคดี” 

วิทยาศาสตร์ควอนตัม และพลังงาน ก็เช่นกัน

หากใครที่ศึกษากฎแห่งแรงดึงดูด กฎการสั่นสะเทือน หรือกฎแห่งจักรวาลทั้งหลายมาแล้วบ้าง ก็จะพอเข้าใจ และพอจะเดาได้ว่า กฎแห่งจักรวาลเหล่านี้ สามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกับแนวคิดมนุษย์นิยม (Naturalism) ได้อย่างประสานสอดคล้องกัน 

ด้วยความที่แนวคิด Naturalism ที่ยึดหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นแก่นหลัก ดังนั้น หลักฟิสิกส์ควอนตัมจึงเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับควอนตัมก็ได้กล่าวถึง “พลังงาน” และ “คลื่นความถี่” พร้อมกับการเชื่อมโยงอย่างมีเหตุมีผลเข้ากับประสิทธิภาพของสมองและจิตใจของมนุษย์

องค์ประกอบของศาสตร์ที่ว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์

ศาสตร์ที่เรียกว่า Human design ก็มีกลิ่นอายของมนุษย์นิยมเช่นกัน และยังเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพลังงาน เป็นหลัก มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายถึงเบื้องหลังของการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานโลก จักรวาล และมนุษย์ การใช้ Human design เพื่อพัฒนาตนเองจึงสอดคล้องกับหลักการ Naturalism ไปด้วยในตัว จึงถือได้ว่า  Human design เป็นองค์ประกอบหลักของธรรมชาตินิยมและสัจนิยม

ในบทความนี้เราจะยังไม่ลงลึกมากนัก ถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อน อีกทั้งหลักปรัชญาทางจิตวิญญาณที่ต้องทำความเข้าใจเป็นเวลานานในการตกตะกอนทางความคิด ความเชื่อ ก็จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงเช่นกัน แต่เราจะกล่าวแค่เพียงเพื่อให้ทุกคนที่อ่าน ได้รับรู้และทำความรู้จักกับ Human design และประโยชน์ของสิ่งนี้ในเบื้องต้นเท่านั้น

กล่าวคือ จุดประสงค์หลักของบทความนี้ เพียงเพื่อให้ได้ผู้อ่านได้ลิ้มรสความลึกลับน่าค้นหาของศาสตร์ Human design และสร้างความเชื่อมโยงของการนำไปใช้ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

เมื่อกล่าวถึงศาสตร์ Human design หลายคนอาจรู้จักมาบ้างแล้ว ในทางที่เกี่ยวกับศาสตร์แห่งการทำนาย โหราศาสตร์ และการอ่านไพ่ แต่ ณ ที่นี้ อยากให้หลายคนได้มีการเชื่อมโยงแนวคิดเข้ากับ Naturalism ในแง่ของการฟื้นฟูพลังงาน ศึกษาแก่นพลังงานของตนเอง และนำไปสู่การรู้จักตนเองอย่างทะลุปรุโปร่งในที่สุด

สิ่งที่อยากแนะนำให้รู้จักถึง Human design ในเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้…

Human Design เป็นศาสตร์สมัยใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม ทั้งในฟากตะวันตกและรวมถึงประเทศไทย ก็นับว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียเช่นกัน 

Human design เป็นศาสตร์ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อพัฒนาทั้งชีวิตทางกายภาพและจิตใจ ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการค้นพบ “พิมพ์เขียว” ด้านพลังงานเฉพาะบุคคล ที่มาของศาสตร์นี้ มาจากการผสมผสานองค์ประกอบของโหราศาสตร์ 4 ศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นให้แต่ละปัจเจกบุคคลได้เข้าถึงลักษณะภายนอก ภายใน จุดแข็ง และข้อจำกัดของตัวเองอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เริ่มแรกอยากกล่าวถึงการแบ่งประเภทมนุษย์แบบคร่าว ๆ ตามพลังงานของแต่ละคนก่อนเลย ซึ่งขอบอกขยายความอีกนิดหน่อยว่า ศาสตร์นี้มีการแบ่งประเภทของมนุษย์ในแบบที่หลากหลายและครอบคลุมกว่านี้มาก ซึ่งที่ยกตัวอย่างมานี้ถือว่าเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น 

ขยายความด้านที่มาที่ไปของศาสตร์นี้ ให้รู้สึกขลังมากขึ้น

Human Design Chart มีชื่ออื่นว่า “BodyGraph” เป็นเครื่องมือที่กล่าวได้ว่าเป็นการรวมกันของโหราศาสตร์ ไอจิง (I Ching) คาบาลา (Kabbalah) และรูปแบบของจักระศีรษะของฮินดู-พราหมณ์ (Hindu-Brahmin chakra model) และฟิสิกส์ควอนตัม เพื่อให้เกิดเป็น Chart ที่ต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล กล่าวได้ว่า 1 คนมี 1 Chart เป็นของตนเองโดยแท้จริง ที่นอกจากจุดอ่อนจุดแข็งในด้านตัวตนของบุคคลแล้ว ยังกล่าวถึงความท้าทายในการดำเนินชีวิต แนวโน้มความเป็นไปในแต่ละช่วงอายุ และเส้นทางที่เป็นไปได้ในชีวิตทั้งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายจากไป 

ทุกอย่างของ Himan design และการแบ่งประเภทของมนุษย์ในแบบต่าง ๆ ดำเนินภายใต้พื้นฐานแนวคิดด้านพลังงาน และมีส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ควอนตัมรองรับ เมื่อเป็นการบรรจบกันของศาสตร์โบราณที่เร้นลับ กับวิทยาการสมัยใหม่ด้านฟิสิกส์ จึงเป็นอะไรที่น่าค้นหา และน่าทดลอง โดยการลองนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอะไรที่ท้าทายและปรับใช้ง่าย จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

Human design Chart เป็นแผนภูมิมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ขึ้นอยู่กับเวลา วันที่ และสถานที่เกิดที่แน่นอนของคนหนึ่งคน หลักการคำนวณจะคล้ายกับโหราศาสตร์ไทย และเมื่อคำนวณมาได้แล้วจะได้หน้าตาแบบในภาพ

human design02

อธิบายเบื้องต้นได้ว่า แผนภูมิ Human design ของแต่ละคน ประกอบด้วยศูนย์กลางเก้าแห่ง ช่องสัญญาณสามสิบหกช่อง และประตูหกสิบสี่ช่อง ศูนย์เป็นตัวแทนของพลังงานประเภทต่างๆ ภายในบุคคล มีการเปิดและปิด ประตูคือการบอกทิศทางการเคลื่อนไหวของพลังงานภายใน แต่ละฐานของพลังงานมีความสำคัญที่แตกต่างกัน Channels เชื่อมต่อสองศูนย์และเป็นพลังงานชีวิตของ BodyGraph

ตัวอย่างของหลักการแบ่งประเภทตามพลังงานของมนุษย์ 

ศาสตร์ Human Design กล่าวถึง 5 ประเภท ของพลังงานที่ส่งเสริมโดยตรงต่อสไตล์ของแต่ละกระบวนการพัฒนาตนเอง โดยมีความง่ายและตรงจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล และสามารถนำไปปรับใช้ได้เลย ดังนี้

  1. Generator: ผู้ผลิตและนักสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนทุกอย่างด้วยหัวใจและอารมณ์
  2. Manifestor: นักเคลื่อนไหว ผู้ที่ต้องมั่นใจในเส้นทางที่เลือก พร้อมกับจุดยืนที่ชัดเจน
  3. Manifesting Generator: ผู้เป็นทรัพยากรของโลก เป็นคนที่มีพลังงานที่มีความสามารถในการทำได้หลายอย่าง และชอบทำอะไรด้วยตัวเอง
  4. Projector: ผู้ชี้ทาง  มีพลังงานเพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่น และช่วยเหลือผู้อื่น
  5. Reflector: ผู้ฟังและรับอิทธิพล เป็นผู้ที่ต้องเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นกระจกสะท้อนให้กับผู้อื่น 

นอกจากนี้ Humandesign ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น  Gates Cannels และ profile ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ด้านการพัฒนาศักยภาพร่างกาย การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งจิตวิญญาณและปัญญาญาณของแต่ละบุคคลอีกด้วย การทำความเข้าใจแผนภูมิการออกแบบโดยมนุษย์เกี่ยวข้องกับการเข้าใจไดนามิกของศูนย์กลาง ช่องสัญญาณ และประตูเหล่านี้ พร้อมด้วยองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ประเภท กลยุทธ์ อำนาจหน้าที่ และโปรไฟล์ ส่วนประกอบทั้งหมดเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อให้มีมุมมองแบบองค์รวมของการออกแบบของบุคคล โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปสู่การตัดสินใจด้วยตนเอง

เกริ่นมาเพียงเท่านี้อาจจะยังมีความซับซ้อนอยู่ แต่อยากให้ทุกคนติดตามในบทความถัดไปที่ได้เขียนเจาะลึกและเชื่อมโยงถึงการนำไปใช้ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น จะทำให้รู้สึกสนุกกว่านี้ในการศึกษาตัวเองผ่านศาสตร์แห่งการเข้าใจตนเองอย่าง Human design มากขึ้น